วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศาสนาในประเทสไทย






ศาสนาในประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความอุปถัมภ์ มีทั้งหมด 5 ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ทุกศาสนามีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ๆ 5 ประการ คือ ศาสดา ศาสนธรรม ศาสนิก ศาสนสถาน และศาสนพิธี
1. ศาสดา หมายถึงองค์ศาสดาที่มีตัวตนอยู่จริง สามารถตรวจสอบยืนยันได้ทางประวัติศาสตร์ ฐานะของศาสดาจะเป็นที่เคารพสักการะของศาสนิกชน 
2. ศาสนธรรม เป็นผลสืบเนื่องมาจากศรัทธา หรือ สืบเนื่องมาจากปัญญาของศาสดา ศาสนิกชนนับถือในฐานะสิ่งสูงสุด จะต้องให้ความเคารพสักการะ เทอดทูน แม้แต่ตัวคัมภีร์ที่ใช้จารึกคำสอน
3. ศาสนิกชน คือ ปวงชนที่ให้การยอมรับนับถือในคำสั่งสอนศาสนา นั้น ๆ ปกติมี 2 ประการหลัก คือ นักบวชและผู้ครองเรือน หรือบางศาสนาแม้จะไม่มีนักบวช แต่มีคนทำหน้าที่ฝึกอบรม สั่งสอนศาสนิก
4. ศาสนสถาน ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงเป็นที่รวมองค์ประกอบหลักของศาสนาทั้งหมดในศาสนสถาน ฐานะ ของศาสนสถานจึงเป็นสมบัติของศาสนา
5. ศาสนพิธี พิธีกรรมที่ถูกกำหนดขึ้นจากศาสดาโดยตรง หรือศาสนิกคิดค้นขึ้น มีเนื้อหาโดยสรุปคือ มุ่งขจัดความไม่รู้ ความกลัว ความอัตคัด สนองตอบความต้องการในสิ่งที่ตนขาดแคลนจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ค้นคว้าปฏิบัติตามหลักของศาสนา 
แม้ประเทศไทยจะมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทางราชการได้ให้ความสำคัญด้านศาสนามาก ดังจะเห็นได้จากการกำหนด วันหยุดราชการในวันศาสนพิธีสำคัญ ๆ คือวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติศาสนพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน ในส่วนของศาสนาอื่นนั้นรัฐบาลก็ได้เอื้อเฟื้อต่อคนไทยที่นับถือ ศาสนานั้น ๆ และให้ความอุปถัมภ์ตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ไว้ ซึ่งได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ และในวันสำคัญของศาสนาอื่น ๆ ศาสนิกชนก็สามารถปฏิบัติ พิธีกรรมทางศาสนาของตนเองได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการให้องค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนาในประเทศไทย รายงานบทนี้จึงขอเสนอประวัติความเป็นมาของแต่ละศาสนา โดยสรุปพอสังเขปดังต่อไปนี้

1 ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธถือกำเนิดในประเทศอินเดียก่อนพุทธศักราช 45 ปี (พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน) ซึ่งนับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีผู้นับถือหลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะในประเทศไทย พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้ามาสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ ในเขตประเทศพม่า และประเทศไทย ในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
พระศาสดาผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ในขณะที่ทรงพระเยาว์ก็ได้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก จนกระทั่งมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลายสาขา
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 16 พรรษาทรงอภิเษกสมรสกับเจ้า หญิงยโสธรา มีพระโอรสหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าชายราหุล ในชีวิตฆราวาสของพระองค์มีแต่ความสุขสมหวัง ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังขาร และทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละความสุขทั้งมวลไม่ว่าจะเป็นพระราชทรัพย์ พระโอรส พระมเหสี พระบิดาพระมารดา ญาติพี่น้องและมิตรสหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา จึงได้ตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ รู้แจ้งสัจธรรมแห่งโลก เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยคำว่า " พุทธ " หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดสัตว์ สั่งสอนประชาชนตามแคว้น ต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย เป็นเวลา 45 ปี ปรากฎว่าชาวอินเดียในสมัยนั้นได้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอยู่จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย
คำสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการบันทึกไว้เป็นพระคัมภีร์ เรียกว่า พระไตรปิฎก มีความยาว 84,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น 3 คัมภีร์ คือ คัมภีร์พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่อง วินัย ศีล สำหรับให้พระภิกษุ สามเณร ปฏิบัติ นอกจากนี้คัมภีร์พระไตรปิฏกยังกล่าวถึงศีลเบื้องต้น และการกำหนดกฏเกณฑ์ ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่นเรื่อง การอุปสมบท การผูกพัทธสีมา เป็นต้น คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก เป็นคัมภีร์พระสูตร กล่าวถึงหลักธรรมต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า คัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก กล่าวถึงธรรมชั้นสูง หรือปรมัตตสัจจะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ 
ศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าที่รวบรวมได้จากการประชุมคณะสงฆ์ ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วประมาณ 1 ศตวรรษ มีดังนี้ 
1. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
2. อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
3. ปฏิจจสมุปปาท
4. อริยมรรค 8
5. นิพพาน
คำสอนด้วยมรรค 8 เป็นคำสอนให้ดับทุกข์ทั้งปวง ย่อลงมาได้เป็นไตร สิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีดังนี้
1. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ คือ ศีล
2. สัมมาวาจามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ คือ สมาธิ
3. สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ คือ ปัญญา
ความหมายในการศึกษา ของ ไตรสิกขา ซึ่งเป็นสุดยอดการปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา คือ
1. ศีล คือการฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม ทางกาย และวาจา ให้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเกิดผลดี
2. สมาธิ คือ การฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจ เนื่องจากพฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะความตั้งใจ ถ้าจิตใจได้รับการพัฒนาให้ดีงามแล้ว ก็จะควบคุมดูแลและนำพฤติกรรมไปในทางที่ดีงามด้วย
3. ปัญญา คือ การพัฒนาปัญญา เพราะปัญญาเป็นตัวนำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด เป็นตัว ปลดปล่อยจิตใจ ให้ทางออกแก่จิตใจที่โล่งและเป็นอิสระ
หัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน หลังจากตรัสรู้เพียง 9 เดือน และทรงแสดงปฐมเทศนาเพียง 7 เดือน ก็ทรงสรุปรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ฝ่ายของมรรคกับนิโรธ ซึ่งถ้าใครปฏิบัติตามที่แสดงไว้ ทุกข์กับสมุทัย ก็หมดไป กล่าวโดยสรุปรวมเป็นไตรสิกขาตรงตัว คือ 1. การไม่ทำบาปทั้งปวง 2. การทำกุศลให้สมบูรณ์ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว 


2 ศาสนาอิสลาม
อิสลาม หมายถึง การยอมมอบตนตามประสงค์ของพระผู้เป็น เจ้าโดยสิ้นเชิง ผู้นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า "มุสลิม" แปลว่า ผู้ยอมมอบตนต่อพระเจ้า พระศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมูฮำมัด (นบี หมายถึงผู้แทนพระอัลลอฮ์ หรือพระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มูฮำมัด เป็นชาวอาหรับเผ่ากุรอยฮ์ในเมืองเมกกะ (ปัจจุบัน คือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย)
ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในดินแดนทะเลทรายอาหรับ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในยุคนั้นชาวอาหรับแตกแยกเป็นหลายกลุ่มขาดความสามัคคียากแก่การปกครอง มีการรบพุ่งฆ่าฟันกันตลอดเวลา ไม่มีศาสนาเป็นแก่นสาร คนส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าและรูปเคารพต่าง ๆ ประชาชนไม่มีศีลธรรม สตรีจะถูกข่มเหงรังแกมากที่สุด ภายใต้สภาพสังคมที่เสื่อมทรามเช่นนี้ นบีมูฮำมัด จึงคิดหาวิธีที่จะช่วยปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น
นบีมูฮำมัด เป็นผู้ฝักใฝ่ในทางศาสนา หาความสงบและบำเพ็ญสมาธิ ที่ถ้ำฮิรอบนภูเขานูร์ ในคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอน ในคัมภีร์ทางศาสนาอิสลามกล่าวว่า กาเบรียลฑูตของพระเจ้า ได้นำโองการของอัลลอฮ์มาประทาน นบีมูฮำมัด ได้นำคำสอนเหล่านี้มาเผยแพร่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น
ในระยะแรกของการเผยแผ่ศาสนา ได้ถูกต่อต้านเป็นอย่างมาก จนถึงกับถูกทำร้าย และได้หลบหนีไปอยู่เมืองมะดีนะฮ์ แต่ก็ยังเผยแผ่จนเป็นที่ยอมรับและมีคนนับถือมากมาย จึงได้กลับมาเมืองเมกกะ และทำการเผยแผ่ศาสนาอิสลามอย่างเต็มที่ การขยายศาสนาอิสลามออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุคหลังเป็นไปโดยการใช้สงครามเข้ายึดเมืองเพื่อเผยแผ่ศาสนา
คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ได้แก่ คัมภีร์ อัล-กุรอาน ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นโองการของพระเจ้าหรืออัลลอฮ์ประทานผ่านทาง นบีมู ฮำมัด มีทั้งหมด 6,660 โองการ 114 ซูเราะห์ (บท) และเชื่อกันว่าโองการเหล่านี้ อัลลอฮ์ประทานมาเป็นระยะ ๆ ตามเหตุการณ์ใช้เวลาถึง 23 ปี จึงเป็นคัมภีร์อัล-กุรอานที่ประกอบด้วย หลักศรัทธา 6 ประการ คือ 1)ศรัทธาต่อพระเจ้า(อัลลอฮ์) 2) ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะ หรือเทวฑูต 3) ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ 4) ศรัทธาต่อบรรดารอซู้ล หรือศาสนฑูต (นบี) 5) ศรัทธาต่อวันสิ้นโลก 6)ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวะการณ์ (ของพระเจ้า) โดยคำว่า " ศรัทธา " หมายถึง ความเชื่อถือ ความเลื่อมใส
สำหรับหลักปฏิบัติ มี 5 ประการ คือ 1)การปฏิบัติตน "ไม่มีพระเจ้าองค์ใด นอกจากอัลลอฮ์ และมูฮำมัด คือศาสนฑูตแห่งพระองค์" 2) การนมาซ หรือ ละหมาด มุสลิมต้องละหมาดวันละ 5 ครั้ง (ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ กลางคืน ) การละหมาดอาจทำที่ใดก็ได้ แต่ต้องหันหน้าไปทางเมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย 3) การถือศีลอด 4) การบริจาคซะกาต 5) การประกอบพิธีฮัจญ์
ศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน มีชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามมากเป็นอันดับสอง รองจากศาสนาพุทธ มีองค์กรทางศาสนาที่ราชการรับรอง เรียกว่าสำนักจุฬาราชมนตรี โดยมีจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุด มีโครงสร้างการบริหารเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการกลางอิสลามประจำมัสยิด ในแต่ละมัสยิด(สุเหร่า) มีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ประเภทละ 1 คนรวม 3 คน เป็นผู้ปกครองดูแลสัปปุรุษ

3 ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประเภทเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ ยะโฮวา (Jehovah) เป็นผู้ทรงสร้างโลก สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในสากลจักรวาล เป็นผู้ประทานข้อบัญญัติแก่มนุษย์ โดยผ่านทางศาสดาพยากรณ์ (Prophets) และศาสนาฑูตตาง ๆ ในแต่ละยุค แต่ละสมัย เรื่อยมาตั้งแต่โมเสสถึงพระเยซู 
พระเยซูประสูติเมื่อปีพ.ศ.543 (เริ่มคริสต์ศักราชที่ 1) เป็นช่วงที่อาณา จักรโรมันเจริญถึงขีดสุดภายใต้การนำของพระเจ้าซีซาร์ ตามหลักฐานกล่าวว่า พระเยซู ประสูติที่เมืองเบธเลเฮม แคว้นยูดาย มารดาชื่อ มาเรีย บิดาชื่อ โจเซฟ เป็นคนเชื้อสายยิว อาศัยอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ในสมัยนั้นมีคำทำนายว่า "กษัตริย์แห่งชนชาติยิวได้บังเกิดขึ้นแล้ว" กษัตริย์เฮร็อค ผู้ครองแคว้นยูดายทรงทราบจึงรับสั่งให้ประหารชีวิตเด็กชายที่เกิดในเมืองเบธเลเฮม ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น โจเซฟได้พาภรรยาและบุตรหลบหนี จนกระทั่งกษัตริย์เฮร็อคเสียชีวิตลง พระเยซูก็ เติบโตขึ้นและด้วยความสนใจใฝ่หาความรู้ทางศาสนา เมื่ออายุ 30 ปี ได้พบกับนักบุญจอห์น ผู้เผยแพร่ศาสนายิวและได้รับศีลจุ่ม (แบบติส) จากจอห์นที่แม่น้ำจอร์แดน นับแต่นั้นมาพระเยซูก็ได้ชื่อว่า พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ) 
พระเยซูคริสต์ เริ่มประกาศคำสอนโดยรับเอาความเชื่อศาสนายิวเป็น หลักปฏิบัติและเป็นคำสอนที่สำคัญอันหนึ่งเรียกว่า "เทศนาบนภูเขา" (Sermon on Mount) พระเยซูส่งสาวกออกไปเผยแพร่คำสอนอันถือเป็นพระวจนะของพระเจ้าจนได้รับความนิยมจากชาวยิว และเชื่อว่าพระเยซูเป็นเมสสิอาห์ ของยิว ต่อมานักบวชชาวยิวกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับพระเยซูถือว่ามาปฏิวัติศาสนาและเป็นผู้สร้างคำสอนใหม่ให้ศาสนา จึงพยายามหาทางกำจัดโดยกล่าวหาพระเยซูว่าพยายามซ่องสุมผู้คน เพื่อ กบฎชาวโรมันอันเป็นที่มาของการถูกทหารโรมันจับตรึงไม้กางเขนจนถึงแก่ชีวิต เมื่ออายุ 33 ปี โดยประกาศคำสอนได้เพียง 3 ปี เท่านั้น พวกสาวกที่เลื่อมใสพระเยซูก็ตั้งเป็นศาสนาใหม่ขึ้น เรียกว่า " ศาสนาคริสต์ "
คัมภีร์สำคัญของศาสนาคริสต์ เรียกว่า " คัมภีร์ใบเบิล " (The Holy Bible) ได้แก่ 1)คัมภีร์ใบเบิลเก่า (The Old Testament) กล่าวถึงประวัติศาสตร์ชนชาติยิวตั้งแต่สมัยอับราฮัมจนถึงสมัยก่อนพระเยซูคริสต์ 2) คัมภีร์ใบเบิลใหม่ (New Testament) กล่าวถึงเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูประสูติ จนถึง ค.ศ.100 เป็นเรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์ และคำสั่งสอนเรื่องความเชื่อของชาวคริสต์
ศาสนาคริสต์แบ่งออกเป็น 3 นิกาย ได้แก่ 1)นิกายโรมันคาธอลิก (Catholic) 2)นิกายโปรเตสแตนท์(Protestant) 3) นิกายออร์โธด็อก (Orthodox) โดยมีหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์ คือ 1) เชื่อว่าพระเยซูแห่งเมืองนาซาเรธเป็นศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ 2) เชื่อว่าพระเยซูแห่งเมืองนาซาเรธเป็นผู้สละชีวิตเพื่อไถ่บาปให้มนุษยชาติ 3) เชื่อว่าพระเยซูฟื้นคืนชีพจริง 4)เชื่อในพิธีล้างบาป หรือศีลจุ่ม (Baptism) และพิธีศีลมหาสนิท (Communion) โดยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 5)เชื่อในวันพิพากษาว่า เมื่อตายจากชีวิตนี้แล้ว จะต้องไปรอรับคำพิพากษาเพื่อการลงโทษและการตอบแทนรางวัล
คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธอลิกเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงปัจจุบันมีชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ ทั้งนิกายโรมันคาธอลิกและโปรเตสแตนท์ เป็นจำนวนมาก ทางราชการให้การรับรองเป็นองค์การศาสนาที่อยู่ในความอุปถัมภ์ ดังนี้
1) นิกายโรมันคาธอลิก มีศูนย์กลางอยู่ที่ นครวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี มีสันตะปาปา เป็นประมุขสูงสุด ในประเทศไทยมีฐานะองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรองชื่อว่า สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาธอลิก (Catholic Church Thailand) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขต มิซซัง ได้แก่ มิซซังกรุงเทพ มิซซังราชบุรี มิซซังจันทบุรี มิซซังสุราษฎร์ธานี มิซซังเชียงใหม่ มิซซังนครสวรรค์ มิซซังท่าแร่-หนองแสง มิซซังอุบลราชธานี มิซซังอุดรธานี และมิซซังนครราชสีมา 
2) นิกายโปรเตสแตนท์ เข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีองค์การทางศาสนาที่ทางราชการรับรองดังนี้ 1) สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย (The Church of Christ in Thailand) 2) สหกิจคริสต์เตียนแห่งประเทศไทย(The Evangelical Fellowship of Thailand) 3) มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสท์ (Foreign Mission Boars) 4) มูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย (Seventh-day Adventist Church of Thailand)
ส่วนนิกายออร์โธด็อก ยังไม่มีการเผยแผ่มาสู่ประเทศไทย



4 ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาเดียวกัน โดยศาสนาฮินดูพัฒนามาจากศาสนาพราหมณ์และเกิดในยุคพระเวท พวกอารยันซึ่งเป็นพวกผิวขาวได้เดินทางมาจากตอนใต้ของรัสเซียเข้ามาขับไล่พวกดราวิเดียนซึ่งเป็นพวกผิวดำ และเป็นชนพื้นเมืองเดิมของพวกอินเดีย พวกดราวิเดียนบางพวกหนีไปอยู่ศรีลังกาและไปเป็นชนพื้นเมืองเดิมของ ศรีลังกา บางพวกได้สืบเชื้อสายผสมผสานเผ่าพันธุ์กับพวกอารยันกลายเป็นคนอินเดียในปัจจุบัน คนอารยันนับถือ พระอาทิตย์ ส่วนพวกชนพื้นเมืองเดิมนับถือไฟ พวกอารยันเห็นว่าความเชื่อของตนเข้ากันได้กับพวกดราวิเดียน จึงได้เผยแพร่ความเชื่อของตนโดยชี้ให้เห็นว่าดวงไฟที่ยิ่งใหญ่ นั้นคือดวงอาทิตย์ จึงควรนับถือพระอาทิตย์ซึ่ง เป็นที่มาของไฟทั้งปวงในโลกมนุษย์ทำให้แนวความคิดของชนพื้นเมืองเดิมกับพวกอารยันผสมผสานเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์- ฮินดู ได้เกิดขึ้นและเผยแผ่มาเป็นเวลานานตั้งแต่1,000 ปี ก่อนพุทธกาล ทำให้แนวคิดทางศาสน าแตกต่างกันมาก จึงแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ 3 ยุค คือ 
1) ยุคพระเวท ประมาณ 100 -1,000 ปี ก่อนพุทธกาล ได้เกิดคัมภีร์
พระเวทขึ้นประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม คือ คัมภีร์ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า คัมภีร์ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายันและบวงสรวงต่าง ๆ คัมภีร์สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์ และขับกล่อมเทพเจ้า และ คัมภีร์อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคม หรือเวทมนต์
2) ยุคพราหมณ์ ประมาณ 100 ปี ก่อนพุทธกาล 
3) ยุคฮินดู 
ตั้งแต่ พ.ศ. 700 เป็นต้นมา
ในตอนปลายยุคพระเวทอิทธิพลของพราหมณ์ได้ก้าวถึงจุดสูงสุด ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาพิธีกรรมมีความสลับซับซ้อนกลายเป็นสิ่งที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ทั้งนี้รวมไปถึงการแปลความหมายของคัมภีร์พระเวทและได้เกิดระบบวรรณะขึ้น 4 วรรณะ คือ 
1) วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะมีหน้าที่ศึกษา จดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท
2) วรรณะกษัตริย์
 ได้แก่พวกนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง และทำศึกสงคราม
3) วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้แก่ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม
4) วรรณะศูทร เป็นวรรณะของพวกกรรมกรผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้ยังมีพวกนอกวรรณะ ซึ่งเกิดจาก การแต่งงานข้ามวรรณะ เรียกว่า " จัณฑาล " ซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ
ในประเทศไทยศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เผยแผ่เข้ามาในสุวรรณภูมิก่อนพุทธกาล ดังหลักฐานจากโบราณสถานที่ต่าง ๆ ในยุคขอมเรืองอำนาจ พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไทยผสมกลมกลืนกับพิธีกรรมทางพระ พุทธศาสนา และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีที่สำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ตราบถึงปัจจุบัน 
ศาสนาพราหมณ์มีองค์การทางศาสนาดูแลรับผิดชอบและเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักพระราชวัง คือ สำนักพราหมณ์พระราชครู มีสำนักงานอยู่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร
สำหรับศาสนาฮินดูนั้น เป็นศาสนาของชาวอินเดียที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีองค์การทางศาสนา 2 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สมาคมฮินดูสมาซ 2)สมาคมฮินดูธรรมสภา ทั้งสองหน่วยงานตั้งอยู่ที่บริเวณเสาชิงช้า ด้านตะวันออกของวัดสุทัศน์เทพวราราม และซอยวัดดอน ยานนาวา กรุงเทพมหานคร


5 ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่มุ่งสอนให้มนุษย์ทำความดีละความชั่ว สอนให้พิจารณาที่เหตุ และให้ยับยั้งต้นเหต ุด้วยสติปัญญา ตำหนิในสิ่งที่ควรตำหนิ และชมเชยในสิ่งที่ควรชมเชย สอนมนุษย์รักกันฉันท์มิตรพี่น้อง รู้จัก ให้อภัยต่อกัน สอนให้เข้าใจถึงการทำบุญ และการทำทาน ให้ละเว้นบาปทั้งปวง สอนให้เราทั้งหลายทราบว่า ไม่มีสิ่งใดมีอนิสงส์เสมอภาวนา สรรพสิ่งทั้งมวลย่อมแตกดับตามกาลเวลา
ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประมาณ 5 ศตวรรษกว่าล่วงมาแล้ว มีพระศาสดา นานักเทพ เป็นองค์พระปฐมบรมศาสดา ทรงประสูตร เมื่อ พ.ศ. 2012 ณ หมู่บ้านติวัลดี ปัจจุบัน คือประเทศปากีสถาน และมีพระศาสดาสืบทอดศาสนามาอีก 9 พระองค์ คือ พระศาสดาอังฆัตเทพ พระศาสดาอมรดาส พระศาสดา รามดาส พระศาสดาอรชุนเทพ พระศาสดาหริโควินท พระศาสดาหริราย พระศาสดาหริกริชัน พระศาสดา เตฆบหาฑรู พระศาสดาโควินทสิงห์ รวมทั้งสิ้น 10 พระศาสดา พระศาสดาโควินทสิงห์ ซึ่งเป็นพระศาสดา องค์สุดท้าย ได้บัญญัติให้ชาวซิกข์ยึดถือในธรรมะอย่างเดียว นับว่าเป็นการยุติการสืบทอดศาสนาโดยบุคคล อย่างสิ้นเชิง ในขณะที่พระองค์ยังมีชนม์ชีพอยู่ พระศาสดาได้ลิขิตและรวบรวมไว้เป็นเล่มเรียกว่า " พระมหาคัมภีร์ อาทิครันถ์ " 
นอกจากนี้พระศาสดาโควินทสิงห์ ได้บัญญัติให้ชาวซิกข์ทุกคนยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดดังนี้ 
ต่อจากพระองค์แล้ว จะไม่มีพระศาสดาเป็นบุคคลสืบต่อไปอีกเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะพระองค์ได้มอบพระโชติไว้ในพระคัมภีร์ อาทิครันถ์ แล้ว และได้อันเชิญพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เป็นพระศาสดานิรันดร
พระคัมภีร์อาทิครันถ์ ที่เป็นพระศาสดานิรันดรของชาวซิกข์นั้น เป็นที่รวมคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ( กรตาปุรุข ) ที่พระศาสดานำมาเผยแพร่ พระศาสดาโควินทสิงห์ ทรงมีรับสั่งชาวซิกข์ไว้ว่า ด้วยโองการของพระเจ้า กรตาปุรุข จึงได้จัดตั้งอาณาจักรมีบัญชาถึงชาวซิกข์ทุกคนให้ถึงองค์พระคัมภีร์อาทิครันถ์ เป็นพระศาสดานิรันดร ผู้ใดใคร่พบพระองค์ขอให้เปิดพบได้ในพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เท่านั้น ผู้ที่เชื่อในพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เท่ากับว่าได้เชื่อพระองค์โดยตรง ทั้งนี้เพราะคำสอนทั้งหมดที่จารึกไว้นั้น เป็นคำสั่งสอนและคำสัญญาของพระเจ้า กรตาปุรุข ทั้งสิ้น คำสอนนี้เป็นทั้งรูปและนามของพระองค์ ( กรตาปุรุข ) ผู้ใดระลึกถึงธรรมของพระองค์ พระองค์ก็ทรงประทับอยู่ด้วย ผู้ใดนับถือพระคัมภีร์อาทิครันถ์นี้แล้ว เท่ากับว่าได้บูชาในพระเจ้าแล้ว (กรตาปุรุข) และจะหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร พระธรรมเป็นสัญญาลักษณ์อมตะของพระเจ้า กรตาปุรุข
ดังนั้นชาวซิกข์ทุกคน กราบไหว้บูชา เคารพนับถือพระคัมภีร์อาทิครันถ์ เป็นพระศาสดานิรันดร จวบจนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 300 ปี และตลอดไปชั่วกาลนาน
พระคัมภีร์ อาทิครันถ์ ที่พระศาสดานำมาเผยแพร่ มีความหมายถึง 1,430 อังสะ (ส่วน หรือตอน) ชาวซิกข์จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะต้องอัญเชิญพระคัมภีร์ ไปประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน สวดมนต์และถวายปรนนิบัติโดยอัญเชิญพระธรรมในคัมภีร์ หนึ่งโศลค (บท) ก่อน แล้วอาราธนาคุณพระผู้เป็นเจ้ากรตาปุรุข จึงจะถือว่าพิธีนั้นเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์
ปัจจุบันชาวซิกข์ มีศูนย์สาขา ณ สุวรรณวิหาร นครอมฤตสระ แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย และมีศูนย์กลางศาสนาในประเทศไทย ณ สมาคมศรีคุรุสิงห์สถา ซึ่งเป็นศูนย์รวมซิกข์สนิกชน ตั้งอยู่เลขที่ 565 ถนนจักรเพชร กรุงเทพมหานคร โทร. 221-1011 221-2838 และ 221-2942

คำเฉพาะที่ใช้ในด้านศาสนามีจำนวนมาก ซึ่งมีความหมายเฉพาะในแต่ ละเรื่อง และไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจได้หากไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า " ศาสนา " หมายถึง ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์ คำสั่งสอนและข้อบังคับ ที่มนุษย์ยอมรับและนำมายึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข รวมทั้งความหมายของคำอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องรวบรวมเพื่ออธิบายความหมายของคำต่าง ๆ ไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาข้อมูลของรายงานฉบับนี้ ซึ่งคำนิยามแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ศาสนสถาน การศึกษา บุคลากร กิจกรรม และงบประมาณ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ศาสนสถาน
ศาสนสถานหมายถึง สถานที่อยู่อาศัยของนักบวช และใช้ประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนา
วัดหมายถึง สถานที่ทางศาสนา ตามปกติแล้วจะมีเสนา
สนะและอาคารถาวรวัตถุต่าง ๆ เป็นที่พำนักอาศัยศึกษา
ปฏิบัติพระธรรมวินัย และประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ
สงฆ์ ตลอดจนเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ นอกจากนี้วัดยัง
เป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและทางสังคม รวม
ทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี วัดทั้ง
หลายมีฐานะทางกฎหมาย คือ เป็นนิติบุคคลเท่าเทียม
กัน แต่ในทางพระวินัยมีฐานะแตกต่างกัน ดังนั้น ตาม
มาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้
จำแนกวัดออกเป็น 2 ชนิด คือ สำนักสงฆ์ และวัดที่ได้
รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
สำนักสงฆ์หมายถึง วัดที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัด
แล้วแต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา รวมถึงวัดที่
ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้สร้างขึ้นตามความใน
มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121
และวัดที่สร้างขึ้นก่อน ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ซึ่งยังไม่ได้
รับพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย นับว่าเป็นวัดที่สม
บูรณ์ทางกฏหมายแล้ว
วัดที่ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา
หมายถึง "อาราม " ตามที่ได้เคยบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 เป็นวัด
ที่เลื่อนฐานะมาจากสำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา เพื่อประโยชน์ แก่สังฆกรรมตามพระธรรม
วินัยสำหรับพระสงฆ์ นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยฐานะทั้ง
ทางกฏหมายและทางพระธรรมวินัย ทุกประการ
พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สม
เด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ เป็นการส่วน
พระองค์ พระราชทานเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมา หรือ แก่วัดเอง มีอยู่จำนวนหนึ่งที่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใหญ่ ทรงสร้างขึ้น หรือ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง รวมทั้งวัดที่ประชาชนสร้าง หรือ ปฏิสังขรณ์และทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวงด้วย
วัดราษฎร์หมายถึง วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และ
สำนักสงฆ์ ซึ่งไม่ได้นับเข้าเป็นพระอารามหลวง ได้แก่
วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้าง หรือ ปฏิสังขรณ์ ซึ่งได้รับ
อนุญาตให้สร้างวัดและประกาศตั้งวัด โดยถูกต้องตาม
กฎหมายจากทางราชการ และช่วยกันทำนุบำรุงสืบต่อ
กันมาตามลำดับ
วัดร้างหมายถึง วัดที่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอาศัยประจำ
ซึ่งทางราชการจะขึ้นทะเบียนไว้เป็นวัดร้างโดยกรมการศาสนา หรือ จังหวัดที่กรมการศาสนามอบหมายให้ดูแลรักษา วัดที่ร้างยังคงสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และมีโอกาสที่จะเป็นวัดมีพระสงฆ์ ได้อีก โดยดำเนินการตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกวัดร้างเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ พ.ศ. 2514
ที่พักสงฆ์หมายถึง สถานที่พำนักอาศัยชั่วคราว สำหรับพระ
ภิกษุ สามเณร ซึ่งพุทธศาสนิกชนได้สร้างขึ้นแต่ยังไม่ได้
รับอนุญาตให้สร้างและตั้งวัดจากทางราชการ
ที่วัดหมายถึง ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
ที่ธรณีสงฆ์หมายถึง ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
ที่กัลปนาหมายถึง ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัด หรือ พระ
พุทธศาสนา
มัสยิดหมายถึง สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจโดยจะ
ต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นที่สอนศาสนาอิสลาม
โบสถ์คริสต์หมายถึง สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาคริสต์
โบสถ์พราหมณ์-ฮินดูหมายถึง สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาพรามณ์-ฮินดู
โบสถ์ซิกข์หมายถึง สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาซิกข์
เขตมิซังหมายถึง เขตการปกครอง นิกายโรมันคาธอลิก
การศึกษา
1 การศึกษาด้านศาสนา
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมหมายถึง โรงเรียนที่วัดจัดตั้งขึ้นในที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ดินของมูลนิธิทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ การ
ศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ ตามหลักสูตร
พระปริยัติธรรมแผนกธรรม แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีหมายถึง โรงเรียนที่วัดจัดตั้งขึ้นในที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์
หรือที่ดินของมูลนิธิทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้การศึกษา
แก่พระภิกษุสามเณร ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนก
บาลี แบ่งเป็น 8 ชั้น คือ บาลีประโยค1-2 บาลีประโยค 3 บาลีประโยค 4 บาลีประโยค 5 บาลีประโยค 6 บาลีประโยค 7 บาลีประโยค 8 บาลีประโยค 9
การศาสนศึกษาหมายถึง การศึกษาปริยัติธรรม และการศึกษาอื่น ๆ
อันควรแก่สมณะ
การศึกษาปริยัติธรรมหมายถึง การศึกษาธรรมและบาลี
สำนักศาสนศึกษาหมายถึง สำนักเรียนพระปริยัติธรรม
สำนักศึกษาธรรมหมายถึง สำนักที่สอนปริยัติธรรม ตามหลักสูตร
ประโยคนักธรรมหรือธรรมศึกษา
สำนักบาลีหมายถึง สำนักที่สอนปริยัติธรรม ตามหลักสูตร
ประโยคบาลี
วิชาการพระพุทธศาสนาหมายถึง วิชาซึ่งจัดให้แก่พระภิกษุ สามเณร
ศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และ
แผนกบาลีสนามหลวง
2 การศึกษาประเภทสามัญศึกษา
ผู้เรียนหมายถึง นักเรียน นักศึกษา เด็ก เยาวชน และ
ประชาชนทุกคนรวมถึงบุคคลที่จะเป็นผู้สอนต่อไป ทั้งใน
ระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
ผู้สอนหมายถึง ครู/อาจารย์ ในสถานศึกษา หรือสถาบัน
ศาสนา และผู้นำศาสนา ที่ทำหน้าที่สอน ให้ความรู้
และให้แนวปฏิบัติ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตาม
อัธยาศัย
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาหมายถึง โรงเรียนที่วัดจัดตั้งขึ้นในที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์
หรือที่ดินของมูลนิธิทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้การ
ศึกษาแก่ พระภิกษุสามเณร ตามหลักสูตรของกระทรวง
ศึกษาธิการ
นักเรียน
หมายถึง พระภิกษุหรือสามเณรที่กำลังศึกษาเล่าเรียน
อยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
ครู-อาจารย์
หมายถึง ผู้ทำหน้าที่สอนประจำอยู่ในโรงเรียนพระ
ปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจะเป็นพระภิกษุ สามเณร หรือคฤหัสถ์ก็ได้ สำหรับคฤหัสถ์ต้องเป็นเพศชายอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดหมายถึง สถานที่ ที่วัดจัดตั้งขึ้นในที่วัดโดยใช้อาคาร
ของวัดเป็นสถานที่จัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษาอบรม
ปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย และภูมิปัญญาไทย แก่เยาวชนตามสมควรแก่วัย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กก่อนเกณฑ์ ที่จะเข้าสู่วัยเรียน ในระดับประถมศึกษา มีชื่อย่อว่า " ศดว. " ซึ่งความหมายของบุคลากรในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดมีดังนี้
เจ้าอาวาส
หมายถึง เจ้าอาวาสวัดที่จัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์
ในวัด
ผู้บริหารศูนย์
หมายถึง เจ้าอาวาสที่ดำเนินงาน ศูนย์อบรมเด็กก่อน
เกณฑ์ในวัด หรือ พระภิกษุ ที่เจ้าอาวาสมอบหน้าที่เป็น
ลายลักษณ์อักษร ให้มีหน้าที่ดูแลศูนย์อบรมเด็กก่อน
เกณฑ์ในวัด
ครูผู้สอน
หมายถึง ผู้ทำหน้าที่อบรมปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม
วัฒนธรรม ประเพณีไทย และถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย
ให้แก่เด็กในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
ครูพี่เลี้ยง
หมายถึง คฤหัสถ์ผู้ทำหน้าที่สอนให้การอบรม ดูแล
ช่วยเหลือเด็กในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
เด็ก
หมายถึง เด็กที่อยู่ในความดูแล อบรม ของศูนย์อบรม
เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-5 ปี
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์
หมายถึง หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาที่วัด มูลนิธิ สมาคม สถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษาอบรมปลูกฝัง ศีลธรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามแก่เด็กและเยาวชนมีชื่อย่อว่า" ศพอ. " ซึ่งความหมายของบุคคลากรในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีดังนี้
ผู้อำนวยการ
หมายถึง ผู้เป็นประธานบริหาร และทำหน้าที่เป็นผู้
จัดการบริหารงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ครูผู้สอน
หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ครู หรืออาจารย์ ที่ทำการสอนใน
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
นักเรียน
หมายถึง ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในศูนย์ศึกษาพระพุทธ
ศาสนาวันอาทิตย์
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ประจำมัสยิดหมายถึง สถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นในบริเวณมัสยิด หรือ ที่ดิน
ของมัสยิด เพื่อให้การศึกษาอบรม ปลูกฝังจริยธรรม
ประเพณีอันดีและภูมิปัญญาไทยแก่เยาวชนตามสมควร
แก่วัย และท้องถิ่น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้แก่
เด็กก่อนเกณฑ์ ที่จะเข้าสู่วัยเรียนในระดับประถมศึกษา
มีชื่อย่อว่า " ศดม." ซึ่งความหมายของบุคลากรในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในมัสยิดมีดังนี้
อิหม่าม
หมายถึง อิหม่ามประจำมัสยิดที่จัดทั้งศูนย์อบรมเด็ก
ก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด
ผู้บริหารศูนย์
หมายถึง อิหม่ามที่ดำเนินงานศูนย์อบรมเด็กก่อน
เกณฑ์ประจำมัสยิด หรือกรรมการมัสยิดที่อิหม่ามมอบ
หมายเป็นลายลักษณ์อักษร ให้มีหน้าที่ดูแลศูนย์อบรม
เด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด
ครูผู้สอน
หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่อบรม ปลูกฝังจริยธรรม
วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย แก่เด็กในศูนย์
อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด
ครูพี่เลี้ยง
หมายถึง ผู้ทำหน้าที่สอน ให้การอบรม ดูแล ช่วยเหลือ
เด็ก ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด
เด็ก
หมายถึง เด็กที่อยู่ในการดูแลอบรมของศูนย์อบรมเด็ก
ก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-5 ปี
ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและ
จริยธรรมประจำมัสยิด
หมายถึง สถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นในบริเวณมัสยิด หรือที่ดิน
ของมัสยิด เพื่อจัดเป็นสถานที่ให้การศึกษาอบรมศาสนา
อิสลาม และจริยธรรม ตลอดจนการจัดกิจกรรมด้าน
ศาสนา และประเพณี อันดีงามของผู้นับถือศาสนาอิส
ลาม มีชื่อย่อว่า " ศอม." ซึ่งความหมายของบุคลากรในศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดมีดังนี้
ครูผู้สอน
หมายถึง ผู้ให้การอบรมในศูนย์อบรมศาสนาอิสลาม
และจริยธรรมประจำมัสยิด
นักเรียน
หมายถึง ผู้เข้ารับการอบรมในศูนย์อบรมศาสนาอิส
ลามและจริยธรรมประจำมัสยิด
โรงเรียนสอนวิชาศาสนาอิสลาม
และวิชาสามัญ ศึกษา
หมายถึง โรงเรียนเอกชนตามพระราชบัญญัติโรงเรียน
เอกชน พุทธศักราช 2525 ม.15 (1) ประเภทสามัญ
ศึกษา ประกอบด้วย 4 หลักสูตร 1) หลักสูตรอิสลาม
ศึกษา ระดับ ม.ต้น พ.ศ. 2535 2) หลักสูตรอิสลาม
ศึกษา ระดับ ม.ต้น พ.ศ. 2535 และหลักสูตรอิสลาม
ศึกษา ระดับ ม.ปลาย พ.ศ. 2535 3) หลักสูตรอิสลาม
ศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการควบคู่กับหลักสูตร ม.ต้น
พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) 4) หลักสูตร
อิสลามศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการควบคู่กับหลักสูตร
ม.ต้น พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) และ
หลักสูตร ม.ปลาย พ.ศ.2524 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2533
มหาวิทยาลัยสงฆ์หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขตหมายถึง เขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มี คณะ
สถาบัน สำนัก ศูนย์ วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อ
อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์
หรือ วิทยาลัยตั้งแต่สองส่วนงานขึ้นไป ตั้งอยู่ในเขตนั้น
ตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
บุคลากรทางศาสนา
คณะสงฆ์หมายถึง บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบท
จากพระอุปัชฌาย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราช
บัญญัติคณะสงฆ์
ภิกษุหมายถึง ผู้ที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปชฌาย์
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และรักษาศีล 227 ข้อ
สามเณรหมายถึง ผู้ดำรงเพศอย่างพระภิกษุ แต่สมาทานศีล 10
คณะสงฆ์อื่นหมายถึง บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรือ อนัมนิกาย
พระราชาคณะหมายถึง พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้ง และสถาปนาให้มี
สมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ
พระสมณศักดิ์หมายถึง พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานยศ หรือบรรดา
ศักดิ์
พระสัญญาบัตรหมายถึง พระภิกษุที่ได้รับใบตั้งยศ หรือบรรดาศักดิ์
สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด
โดยสมณศักดิ์
หมายถึง สมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับสถาปนาก่อน
สมเด็จพระราชาคณะรูปอื่น ถ้าได้รับสถาปนาในวันเดียว
โดย กันให้ถือรูปที่ได้รับสถาปนาในลำดับก่อน
พระสังฆาธิการหมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์
พระธรรมฑูตหมายถึง พระภิกษุผู้ทำหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนา
พระเปรียญและบัณฑิตอาสาพัฒนาหมายถึง พระภิกษุที่เรียนจบเปรียญธรรมตั้งแต่ 4
ประโยคขึ้นไป หรือ จบปริญญาตรีทางศาสนา และ
นักธรรมชั้นเอก ทำหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าคณะจังหวัด ใน
นักธรรมชั้นเอก ทำหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าคณะจังหวัดใน
การนิเทศงานด้านการศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ
พระปริยัตินิเทศก์หมายถึง พระภิกษุที่เรียนจบเปรียญธรรมตั้งแต่ 6
ประโยคขึ้นไป ทำหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าคณะจังหวัด ในการ
นิเทศงานด้านการศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การ
พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ
พระจริยานิเทศก์หมายถึง พระภิกษุที่สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า
เปรียญธรรม 6 ประโยคและนักธรรมชั้นเอก หรือภิกษุที่มี
ความรู้จบปริญญา จากมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นเปรียญ
ธรรม 4 ประโยคและนักธรรมชั้นเอก ทำหน้าที่ช่วยเหลือ
เจ้าคณะจังหวัด ในการนิเทศงานด้านการศึกษา
สงเคราะห์ การเผยแผ่ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ
พระวิปัสสนาจารย์หมายถึง พระสงฆ์ทำหน้าที่ฝึกสอนปฏิบัติธรรม
กรรมฐาน
พระนักเผยแผ่หมายถึง พระภิกษุผู้แตกฉานในธรรมะ เข้าใจและ
สามารถเผยแผ่ธรรมได้เป็นอย่างดี
สัปปุรุษประจำมัสยิดหมายถึง มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
มีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด และมีชื่ออยู่ใน
ทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด แต่ผู้นั้นจะเป็นสัปปุรุษ
เกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้
คณะกรรมการกลางหมายถึง คณะกรรมการกลาง ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด
อิหม่ามหมายถึง ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิด
คอเต็บหมายถึง ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด
บิหลั่นหมายถึง ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจ
ตามเวลา
อะมีรุ้ลฮัจญ์ หรือ รออิสบิซาตุล
ฮัจญ์อัลรัสมียะห์
หมายถึง บุคคลผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์
ทางการของประเทศไทย นำชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิส
ลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะประเทศ
ซาอุดิอาระเบีย
พราหมณ์หมายถึง คนในวรรณะพราหมณ์ของสังคมฮินดู (ซึ่งมี
4 วรรณะได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ) ผู้ที่ถือเพศพรมจรรย์เป็นนักบวชไว้ผมยาว นุงขาว ห่มขาว
บาทหลวงศาสนาจารย์หมายถึง ผู้สอนศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์
กิจกรรมทางศาสนา
กิจการฮัจญ์หมายถึง กิจการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของ
ชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์
ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่ว่าจะเป็นการ
จัดบริการ การอำนวยความสะดวกหรือความปลอดภัย
ก่อนเดินทาง ระหว่างเดินทาง ระหว่างประกอบพิธี
ฮัจญ์ หรือการเดินทางกลับถึงภูมิลำเนา
การประกอบพิธีฮัจญ์หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ เมือง
เมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยให้ปฏิบัติเฉพาะผู้ที่มี
ความสามารถเท่านั้น คือมีความพร้อมทั้งทางด้านร่าง
กาย จิตใจ สติปัญญา และทรัพย์สิน
การนมาซ หรือ ละหมาดหมายถึง การนมัสการต่อพระเจ้า เพื่อแสดงความ
ภักดี
การถือศีลอดหมายถึง การละเว้นการกิน การดื่ม และเพศสัมพันธ์
ตลอดถึงการรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำความชั่วทั้งในด้านกาย วาจา ใจ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึง
พระอาทิตย์ตก ในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ของฮิจเราะห์ศักราช) เป็นเวลา 1 เดือน
การบริจาคซะกาตหมายถึง การจ่ายทานบังคับจากผู้มีทรัพย์สินครบรอบ
หนึ่งปีแก่ผู้มีสิทธิรับบริจาค ได้แก่คนยากจน
งบประมาณ
นิตยภัตหมายถึง เงินงบประมาณที่กรมการศาสนาได้รับเป็น
ประจำเพื่อจ่ายถวายอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง
หรือพระภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษ ตามที่กำหนดไว้ใน
บัญชีอัตรานิตยภัต ซึ่งได้ทำการตกลงกับกระทรวงการ
คลังแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น